วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 23 เดือนเมษายน พ.ศ.2558   เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.


เนื้อหาที่เรียน

"โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล"
(Individualized Education Program)

แผน IEP
      - แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
      - เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
      - ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
      - โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล
การเขียนแผน IEP
     - คัดแยกเด็กพิเศษ
     - ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
     - ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
     - เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
     - แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
    - ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
    - ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
    - การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
    - เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
    - ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
    - วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
   - ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
   - ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
   - ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
   - ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
   - เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
   - เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการให้เหมาะกับเด็ก
   - ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
   - เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
   - ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
   - ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  - ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  - เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
   - รายงานทางการแพทย์
   - รายงานการประเมินด้านต่างๆ
   - บันทึกจากผู้ปกครอง ครู้ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน
  - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  - กำหนดโปรแกรมและจัดกิจกรรม
  - จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
    
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
   - จุดมุ่งหมายระยะยาว
          - กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
             - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
             - น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
             - น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นได้

    - จุดมุ่งหมายระยะสั้น
            - ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
            - เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
            - จะสอนใคร
            - พฤติกรรมอะไร
            - เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
            - พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3.การใช้แผน
  - เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  - นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  - แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  - จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  - ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
      1.)ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
      2.)ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
      3.)อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4.การประเมินผล
   - โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
   - ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


การจัดทำแผน IEP

  
        ท้ายคาบอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อช่วยกันเขียนแผน IEP

กลุ่มของดิฉัน





บรรยากาศภายในห้อง
   

      สิ่งที่นำไปพัฒนา
           สามารถขั้นตอนการเขียนแผน IEP ว่าจะต้องมีการรวบรวมข้อมูล การจัดทำแผน การใช้แผน และการประเมิน  ให้ถูกต้องตามขั้นตอนดังกล่าว แล้วไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้  ทั้งแผนระยะสั้น และ แผนระยะยาว




วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 9  เดือนเมษายน พ.ศ.2558   เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.





เนื้อหาที่เรียน

"การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"

                              ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
          - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
          - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
          - เด็กรู้สึกว่า"ฉันทำได้"
          - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
          - อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
          - ต้องมีการเรียนรู้อื่นๆ
          - จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
          - เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
          - เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
          - คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
          - ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
          - ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
          - การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
          - ต่อบล็อก
          - ศิลปะ
          - มุมบ้าน
          - ช่วยเหลือตนเอง
ความจำ
          - จากการสนทนา
          - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
          - แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
          - จำตัวละครในนิทาน
          - จำชื่อครู เพื่อน
          - เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะทางคณฺิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
         - การจำแนก
         - การเรียงลำดับ
         - การนับ
         - การสังเกต
         - ทักษะการเปรียบเทียบ
         - การวัด
         - รูปทรงและขนาด



บรรยากาศภายในห้องเรียน








สิ่งที่นำไปพัฒนา
                 สามารถนำทักษะพื้นฐานทางด้านการเรียนไปใช้กับเด็กพิเศษได้ในอนาคตในการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก ทางด้านความจำและการให้เด็กทำตามคำสั่ง คำแนะนำต่างๆ 








บันทึกอนุทินครั้งที่ 11



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 26  เดือนมีนาคม พ.ศ.2558   เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.


เนื้อหาที่เรียน
      ในวันนี้อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบหลังจากที่ได้เรียนมาทั้งหมด เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหา ความรู้  โดยในแบบทดสอบนั้น ก็จะคล้ายๆจากที่อาจารย์เคยสอน และในการสอนแต่ละคาบอาจารย์ก็จะยกตัวอย่างให้นักศึกษาฟังในทุกคาบเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น  ถ้าจำเนื้อหาตัวอย่างที่อาจารย์เคยอธิบายให้ฟัง เราก็จะสามารถทำข้อสอบในครั้งนี้ได้  โดยข้อสอบก็จะเกี่ยวกับขั้นตอนการลำดับงาน การปรับพฤติกรรมของเด็ก เป็นต้น

บรรยากาศภายในห้อง

สิ่งที่นำไปพัฒนา
             สามารถนำความรู้ที่ได้จากการสอบในครั้งนี้ ไปปรับใช้ในการปรับพฤติกรรมของเด็ก และสามารถลำดับขั้นตอนการย่อยงาน ได้ถูกตามลำดับขั้นทีวางไว้




 




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 19  เดือนมีนาคม พ.ศ.2558   เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.


เนื้อหาที่เรียน

"การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"
                                   
                          ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
"เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด  การกินอยู๋ การเขาห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน"
การสร้างความอิสระ
              - เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
              - อยากทำงานตามความสามารถ
              - เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
              - การได้ทำด้วยตนเอง
              - เชื่อมั่นในตนเอง
              - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
              - ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
              - ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
              - ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
              - "หนูทำช้า"  "หนูยังทำไม่ได้"
จะช่วยเมื่อไหร่
              - เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร,หงุดหงิด,เบื่อ,ไม่ค่อยสบาย
              - หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
              - เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
              - มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ
              - แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
              - เรียงลำดับตามขั้นตอน
การวางแผนทีละขั้น
              - แยกกิจกรรมเป็นขันย่อยๆให้มากที่สุด


บรรยากาศในห้องเรียน

                ท้ายคาบอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนทำกิจกรรมหลังเรียน คือกิจกรรมศิลปะ โดยใช้สีเทียนทำเป็นวงกลม วงละสี ตามจินตนาการว่าจะทำกี่วงก็ได้ 



อุปกรณ์ในการทำมีสีเทียน กระดาษ


ช้สีเทียนระบายเป็นวงกลม เสร็จแล้วใช้กรรไกรตัดกระดาษออกให้เป็นรูปวงกลมที่ระบายไว้



ผลงานของดิฉัน

ผลงานของเพื่อนทุกคน


สิ่งที่นำไปพัฒนา
            สามารถนำการย่อยไปใช้กับเด็กพิเศษในการให้เด็กพิเศษทำสิ่งต่างๆเพื่อเป็นการช่วยเหลือตัวเอง โดยต้องทำตามลำดับขั้น คุณครูค่อยๆบอกทีละขั้นให้เด็กทำตาม และสามารถนำกิจกรรมศิลปะนี้ ไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กได้ 





บันทึก อนุทิน ครั้งที่ 9



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558   เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.


เนื้อหาที่เรียน
                  
 "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"
                    

                       ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
                - เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพุดไหม
                - ตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดด้วยไหม
                - ถามหาสิ่งต่างๆไหม
                - บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
                -  ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิดพูดไม่ชัด
                - การพูดตกหล่อน
                - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
                - ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
                - ไม่สนการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
               - ห้ามบอกเด็กว่า"พูดช้าๆ"  "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"
               - อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
               - อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
               - ทักษะการรับรู้ภาษา
               - การแสดงออกทางภาษา
               - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
                - การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
               - ภาษาไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
               - ให้เวลาเด็กได้พูด
               -  คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น) 
               -  เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
               - เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว
               - ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
               - กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
               - เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
               - ใช้คำถามปลายเปิด
               - เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
               - ร่วมกิจกรรมกับเด็ก



บรรยากาศภายในห้องเรียน

               หลังจากเสร็จการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมศิลปะ บำบัดเด็กพิเศษ โดยการให้นักศึกษาจับคู่กัน ให้ฟังเพลงและขีดเส้นตรงไปตามเสียงเพลง พอเพลงจบให้แต่ละคู่ระบายสีช่องที่เป็นช่องปิดตายทุกช่อง

อุปกรณ์มีสีเทียน กระดาษ



ลากเส้นตรงไปมา



 ระบายสีทับช่องปิดตาย




งานคู่ของฉัน



ผลงานของเพื่อนในห้อง




สิ่งที่นำไปพัฒนา
                ความรู้ในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กพิเศษในอนาคตต่อไปได้ เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตัวแก่เด็กได้ถูกต้อง และกิจกรรมศิลปะ บำบัดเด็กพิเศษนี้ ยังสามารถไปจัดกิจกรรมให้เด็กพิเศษร่วมกันทำได้ เพื่อให้เด็กเกิดสมาธิและการทำงานร่วมกันกับเพื่อน