บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 5 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
กิจกรรม
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาวิชาการเรียนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาสวมถุงมือ ด้านที่ไม่ถนัด แล้วก็วาดรูปมือตัวเอง
โดยอาจารย์ถามว่า "จำมือตัวเองได้ไหม ว่ามันอยู่กับเรามากี่ปี จำรายละเอียดของมือตัวเองได้ไหม" แล้วให้นักศึกษาวาดภาพแล้วเก็บรายละเอ๊ยดทุกอย่างมือข้างที่ไม่ถนัด
รูปมือข้างซ้าย ข้างที่ไม่ถนัด
อาจารย์บอกว่า ที่ให้วาดรูปมือนั่นเปรียบเสมือนกับกับสังเกตพฤติกรรมของเด็กพิเศษ เวลาเจอเด็กต้องมีการจดบันทึกพฤติกรรมเสมอ เวลาเด็กแสดงพฤติกรรมเมื่อไหร่ เราจะต้องเริ่มบันทึกในทันที
เนื้อหาที่เรียน
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
อบรมระยะสั้น , สัมมนา และสื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
เด็กมักจะคล้ายลึงกันมากกว่าแตกต่าง ต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ รู้จักเด็กแต่ละคน ว่าเด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร มองเด็กให้เป็นเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็น ความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
วุฒิภาวะ แรงจูงใจ และโอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน และครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
ต้องมีลักษณะง่ายๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ และของเล่นในห้องเรียนรวมต้องไม่แบ่งแยกเพศเด็ก
ตารางประจำวัน
เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้ กิจกรรมแรกของวันมักเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหว >เสริมประสบการณ์ >ศิลปะ>กลางแจ้ง>กิจกรรมตามมุม บ่าย กิจกรรมเล่านิทาน เล่นเกมการศึกษา เพื่อรอเวลากลับบ้าน
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก ตอบสนองเป้าหมายเด็ก ต้องตอบสนองสิงที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก เช่นเรื่องจับดินสอ ต้องสอนให้น้องจับปากกา จับสีให้แน่น จำดินสอให้มั่น เป้าหมายหลักครู อันไหนสำคัญสุดแก้ส่วนนั้นก่อน ต้องมีการเรียงลำดับความสำคัญบอกเด็กว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำและปรับพฤติกรรม ตั้งเป้าหมายอะไรไว้ ให้บรรลุแค่ส่วนนั้นก่อน
การใช้สหวิทยาการ
ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน ต้องรวมกิจกรรมเข้ากับการบำบัด
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
ส่วนมากเด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้เสริมแรง
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
ต้องตอบสนองด้วยวาจา ด้วยการชม พยักหน้ารับยิ้ม ฟัง สัมผัสทางกายด้วยการกอด หอม และให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงแสริมในเด็กปฐมวัย
ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ครูให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (Prompting)
ใช้การย่อยงาน ตามลำดับความยากง่ายของงาน และการบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตาามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย สอนจากง่ายไปยาก ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งชิ้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น" ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรม การเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนหลังมาจากข้างหลัง ต้องสอนผสมกัน
โดยการลงโทษเด็ก เอาของเล่นออกจากเด็ก หรือ เอาเด็กออกจากของเล่น
การลดหรือหยุดแรงเสริม
ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก เอาเด็กออกจากของเล่น
สิ่งที่นำไปใช้
สามรถนำวิธีการย่อยงานไปใช้กับเด็กพิเศษได้ และได้ทราบถึงหลักการบันทึกหรืองสังเกตพฤติกรรมเด็กพิเศษ ว่าต้องจดบันทึกพฤติกรรมนั้นทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น